ง่วงหนักมากแม่ หลังกินอาหาร เป็นอะไรกันแน่ ?

  • Last modified on:3 ปี ago
  • Reading Time:2Minutes
  • Post Words:44Words
  • PostView Count:292Views

ง่วงหนักมากแม่ หลังกินอาหาร เป็นอะไรกันแน่?

อาการง่วงนอนหลังกิน

 

เวลาเรากินอาหาร จนกินเสร็จ อาจจะเคยพบด้วยตัวเอง

และอาจจะ เคยได้ยินคำว่า

หนังท้องตึง หนังตาก็เริ่มหย่อน เราเชื่อว่าหลายๆ

คนไม่ใช่แค่เคยได้ยินแต่เคยมีประสบการณ์ กับ

มันมาแล้ว คนทำงานส่วนมากจะเจอปัญหานี้

เพราะหลังจาก ได้กินข้าวเที่ยงทีไร

เข้าช่วงบ่ายมา คือเอาละ เริ่มหนังตาจะปิดอีกละ

ไม่ได้เป็นอันทำงานซะที เพราะมันจะหลับอย่างเดียว

ทำไมมันถึงเป็นแบบนั้น เสียงานเสียการ เพราะความง่วง

เป็นเหตุ และ ที่มา รู้ไหมว่า มันไม่ใช่เรื่องของการง่วงปกติ

แต่มันเป็นอาการ ที่หลายคนเป็น และมันมีชื่อเรียก อยู่จริงๆ

สิ่งนี้เรียกว่า

 

“ฟู้ดโคม่า”

 

เรามาทำความรู้จัก ฟู้ดโคม่า กันเถอะครับ ว่ามันคืออะไร

ฟู้ดโคม่า ไม่ใช่เป็นโรค แต่เป็น ภาวะทางสรีรวิทยา

มากกว่า เป็นธรรมดา ของคนทั่วไป ที่หนังท้องตึง

หนังตา ก็เริ่มหย่อนด้วย อาการนี้ เป็นได้กันทุกคน

แต่ระดับ ของความง่วง อาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ

ด้วย เช่น ระยะเวลา ในการหลับแต่ละคืน

การจัดสรรเวลา ในการทำงาน อาการนี้มักจะ

กวนใจสำหรับคน ทำงานแบบเราๆ เราไปทำความรู้จักกับ

ฟู้ดโคม่า ให้มากขึ้นกว่านี้กันเถอะ

 

 

อาการง่วงนอน

หลังจาก การรับประทานอาหาร (Food Coma) 

อาการง่วงนอน หลังกินอาหารอิ่มแล้ว

ทางการแพทย์ เรียกอาการ นี้ว่า ฟู้ดโคม่า (Food Coma)

ในขณะที่เรากินอาหาร ในแต่ละมื้อ ประกอบไปด้วย

คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เมื่อผ่าน ระบบการย่อยอาหารแล้ว

ร่างกาย จะกลั่นกรองน้ำตาล หรือกลูโคส

ที่สามารถซึมเข้าสู่ กระแสเลือด นำไปใช้เป็นพลังงาน

ในการใช้ชีวิตประจำ แต่ก็ยังมี กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง มาจากอาหาร

ที่เรา ทานเข้าไปเช่นเดียวกัน เรียกว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan)

ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมอง และระบบประสาท

ทำให้ ลดความตึงเครียด

และ ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้

 

กินอิ่ม จนรู้สึกง่วงนอน เกิดจากสาเหตุอะไร ?

การรีบกินอาหาร ที่มีส่วนประกอบของ ทริปโตเฟน

(Tryptophan) พบมากในเนื้อสัตว์ และ นมบางชนิด

ที่รับประทาน กันในชีวิตประจำวันและไม่สามารถหลีกเลี่ยง

ได้ด้วย ทริปโตเฟน (Tryptophan) จะเข้าสู่สมอง

และเพิ่มระดับเซโรโทนิน (Serotonin) ลดความภาวะอารมณ์

ทำให้รู้สึกผ่อนคลายให้ร่างกาย

เตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ

 

 

การเปลี่ยนแปลงในกระแสเลือดไปยังสมอง

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ บางคนกล่าวว่าอาการ

ง่วงซึมเกิดจากการไหลเวียนของเลือด

ถูกส่งไปในการเลี้ยงสมองค่อนข้างน้อย

ทำให้คุณรู้สึกง่วง หรือเกิดอาการซึม และเหนื่อยล้าได้ง่าย

 

การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงหรือแคลอรีสูง

นักวิจัยชี้ให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง

ทำให้เกิดอาการง่วงนอนหลังอาหาร ในการศึกษาจากนักวิจัย

นำผู้ทดสอบที่รับประทานอาหารไขมันสูง หรือมีแคลอรีสูง

พบว่าสมองได้ส่งสัญญาณที่ทำให้เกิดความรู้สึกหิวนั้นลดลง

และเพิ่มอาการง่วงนอนเข้ามาแทน

 

ง่วงหนักมากแม่ !!!

วิธีเอาชนะอาการ ฟู้ดโคม่า ที่เกิดขึ้นระหว่างวัน

1.นอนหลับให้เพียงพอ ในเวลากลางคืน โดยพักผ่อน

7-8 ชั่วโมง ต่อคืน เพราะเป็นเวลาที่ไม่มากเกิน

และไม่น้อยเกินไป อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ของการนอนหลับที่ดี

 

2.ใช้เวลาในการพักเที่ยงของคุณ

เดินออกกำลังกาย เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียน

และสมองทำงานได้เต็มที่ รวมถึง

ยังสามารถช่วยให้นอนหลับ

ได้ดีขึ้นในเวลากลางคืนอีกด้วย

 

 

3.ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวันเพื่อให้ร่างกายของคุณสดชื่น

 

4.การงานกองโต ที่แสนน่าเบื่อบนโต๊ะทำงานของคุณ

ในช่วงเช้า เพราะเป็นช่วงที่สมองของคุณกำลังตื่นตัว

หากสะสมมาทำตอนช่วงบ่าย หรือ หลังรับประทานอาหารมื้อกลางวัน

อาจทำให้คุณรู้สึกเบื่อ เหนื่อย เพิ่มความล้า และ กระตุ้นการง่วงนอนได้

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิด (Food Coma)

-นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

 

-ทำงานในช่วงเช้าหนักจนเกินไป

 

-กินอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

 

-ร่างกายนำเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง

เนื่องจากต้องนำเลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารจากกระบวนการย่อยอาหาร

 

-สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin)

และเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้นอนหลับ

โดยมีอาหารที่มีกรดไขมันชนิดดีเป็นตัวกระตุ้นการสร้างฮอร์โมน

 

 

ถึงแม้อาการ Food Coma

จะไม่ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพ

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าสร้างความ

รบกวน ให้ร่างกายเราไม่น้อย

ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดอาการง่วงนอนนั้น

อาจจะเรื้อรังจนรักษาได้ยาก

หรืออาจรักษาได้ไม่ทัน ซึ่งจะส่งผลเสีย

กับตัวคุณเอง และงานของเราอีกด้วย

 

: Hormone
: Dozz-off

บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?

คลิกที่ดาว เพื่อให้คะแนนบทความ

Average rating 0 / 5. Vote count: 0